วันอังคารที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ข้อสอบปลายภาค

ข้อสอบปลายภาค
คำสั่งข้อสอบมีทั้งหมด 7  ข้อ ให้นักศึกษาทำทุกข้อ ห้ามลอกกันเขียนคำตอบโดยใช้สำนวนเหมือนกันถือว่ามิใช่ความคิดของนักศึกษาเอง ปรับให้ตกทั้งคู่ ข้อละ 10 คะแนน
1.    กฎหมายทั่วไปกับกฎหมายการศึกษา มีที่มาความเหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร อธิบายพร้อมทั้ง      ยกตัวอย่างประกอบอย่างย่อ ๆ ให้ได้ใจความพอเข้าใจ.         
ตอบ   กฎหมายการศึกษา กฎหมายรัฐธรรมนูญว่าด้วยการศึกษาคือ จะเป็นกฎหรือคำสั่งหรือข้อบังคับของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาที่สถาบันหรือหน่วยงานผู้มีอำนาจได้ตราขึ้นบังคับใช้ และถือว่ากฎหมายทางการศึกษาฉบับแรกคือ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ     เพื่อให้ครูและบุคลากรและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจกฎหมายการศึกษาให้มากขึ้น
                พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ได้จัดการศึกษา 3 รูปแบบ คือการศึกษาในระบบ      การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
1 การศึกษาในระบบ เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษาหลักสูตรระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผลซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาอย่างแน่นอน
2 การจัดการศึกษานอกระบบ เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมายรูปแบบวิธีการจัดการศึกษาระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการสำเร็จการศึกษา โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญญาและความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่ม
3 การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจ ศักยภาพ ความพร้อม และโอกาส โดยศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์ สังคม สภาพแวดล้อม สื่อ หรือแหล่งความรู้อื่น ๆ สถานศึกษาอาจจัดการศึกษาในรูปแบบ
                  กฎหมายทั่วไป          
                กฎหมาย คือข้อบังคบที่ทุกคนยึดถือและปฏิบัติเป็นที่ยอมรับของคนในสังคม ซึ่งผู้มีอำนาจของประเทศได้บัญญัติขึ้น และบังคับให้ผู้ที่อยู่ในประเทศนั้นถือปฏิบัติตาม เพื่อกำหนดความประพฤติของพลเมืองผู้ใดฝ่าฝืนไม่ยอมปฏิบัติตามมีความผิดและถูกลงโทษ 
กฎหมาย มีลักษณะสำคัญ 4 ประการ ได้แก่
   ๒.๑ ต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับของผู้มีอำนาจในรัฐ (รัฐาธิปัตย์) สำหรับประเทศไทย องค์กรที่ทำหน้าที่ออกกฎหมาย ได้แก่ 
    -รัฐสภา ถือเป็นอำนาจหน้าที่โดยตรง ในการบัญญัติกฎหมายออกมาบังคับใช้ กฎหมายที่รงัฐสภาบัญญัติได้แก่ พระราชบัญญัติ 
    -รัฐบาล หรือคณะรัฐมนตรี บางครั้งในยามบ้านเมืองมีความจำเป็นรีบด่วนในการแก้ไขปัญหาของประเทศให้ฉับไว ถ้าหากรอให้รัฐสภาบัญญัติเป็นพระราชบัญญัติ ก็จะไม่ทันการณ์ อาจนำความเสียหายมาสู่บ้านเมืองได้ กฎหมายสูงสุด(รัฐธรรมนูญ) จึงให้อำนาจฝ่ายบริหารหรือคณะรัฐบาลสามารถออกกฎหมายมาใช้บังคับในยามฉุกเฉิน เราเรียกกฎหมายนี้ว่า "พระราชกำหนด" ในขณะใช้บังคับพระราชกำหนดนั้น ๆ ให้รีบนำพระราชกำหนดนั้นเสนอรัฐสภา หากรัฐสภาเห็นชอบด้วยพระราชกำหนดนั้น ก็จะเป็นพระราชบัญญัติ ใช้บังคับได้ต่อไป แต่หากรัฐสภาไม่เห็นชอบด้วย พระราชกำหนดนั้น ๆ ก็เป็นอันตกไป คือให้เลิกใช้บังคับต่อไป นอกจากนี้ รัฐบาลยังสามารถออกกฎหมายในลำดับชั้นรอง ๆ ลงไป ได้โดยที่ไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญ กฎหมายชั้นรองดังกล่าวนั้นก็คือ พระราชกฤษฎีกา และกฎกระทรวง กฎหมายทั้งสองชนิดนี้ พระราชกฤษฎีกาจะมีฐานะหรือศักดิ์สูงกว่ากฎกระทรวง ทั้งนี้เพราะมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย 
ในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกา ส่วนกฎกระทรวง ผู้ลงนามประกาศใช้ คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง 
สรุปว่า กฎหมายที่ออกโดยฝ่ายบริหารหรือรัฐบาล มี ๓ ชนิด คือพระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา และกฎกระทรวง 
    -องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีอำนาจในการออกกฎหมายมาใช้บังคับภายในเขตพื้นที่ของตน ทั้งนี้กฎหมายดังกล่าวจะต้องไม่ขัดแย้งกับกฎหมายแม่บทหรือ 
กฎหมายที่อยู่ในลำดับชั้นที่สูงกว่า กฎหมายส่วนท้องถิ่น มี ๕ ชนิดด้วยกัน ได้แก่ 
เทศบัญญัติ เป็นกฎหมายที่ เทศบาลหนึ่ง ๆ ที่บัญญัติขึ้นมา เพื่อบังคับใช้กับประชาชนในพื้นที่เทศบาลของตนเอง ข้อบังคับตำบล เป็นกฎหมายที่องค์การบริหารส่วนตำบลหนึ่ง ๆ บัญญัติขึ้นมาเพื่อบังคับใช้กับประชาชนในเขตพื้นที่ของตน ข้อบัญญัติจังหวัด เป็นกฎหมายที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดหนึ่ง ๆ บัญญัติขึ้นมา ใช้บังคับกับประชาชนในพื้นที่จังหวัดนั้น ๆ ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เป็นกฎหมายที่กรุงเทพมหานคร บัญญัติขึ้นมา ใช้บังคับกับประชาชนในพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร 
ข้อบัญญัติเมืองพัทยา เป็นกฎหมายที่เมืองพัทยา บัญญัติขึ้นมา ใช้บังคับกับประชาชนในพื้นที่่ของเมืองพัทยา อ. บาลละมุง จ. ชลบุรี 
   ๒.๒ ต้องเป็นข้อบังคับ ใช้บังคับพลเมือง (บังคับสมาชิกของสังคมนั้น ๆ) 
   ๒.๓ ต้องบังคับทั่วไป คือบังคับกับคนทุกคนที่อยู่ในราชอาณาจักร คำว่าราชอาณาจักร 
   ๒.๔ ต้องมีโทษสำหรับผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม 
                    มีความเหมือนกันคือ กฎหมายจะเป็นกฎหรือข้อบังคับของรัฐ
                     ต่างกันคือ กฎหมายการศึกษาจะเกี่ยวข้องกับการศึกษาที่สถาบันหรือหน่วยงาน ส่วนกฎหมายทั่วไปมีเพื่อบังคับให้ผู้ที่อยู่ในประเทศนั้นถือปฏิบัติตาม เพื่อกำหนดความประพฤติของพลเมืองผู้ใดฝ่าฝืนไม่ยอมปฏิบัติตามมีความผิดและถูกลงโทษ 

2. รัฐธรรมนูญที่ว่าด้วยการศึกษา มีสาระหลักที่สำคัญอย่างไร ในประเด็นอะไรบ้างที่เกี่ยวข้องกับ       การศึกษา ยกตัวอย่างประกอบ พอเข้าใจ (รัฐธรรมนูญตั้งแต่แต่ฉบับแรกถึงปัจจุบัน (พ.ศ.2550)
ตอบ  รัฐธรรมนูญพ.ศ.2540 ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษามีมาตราที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาโดยตรง 2 มาตรา คือ 
     มาตรา 43    บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย การจัดการศึกาาอบรมของรัฐต้องคำนึงถึงการมีส่วนร่วมขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นและเอกชน ทั้งนี้ ตามที่ กฎหมายบัญญัติ การจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพและเอกชนภายใต้การกำกับดูแลของรัฐ ย่อมได้รับความคุ้มครอง ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ 

    มาตรา 81    รัฐต้องจัดการศึกษาอบรมและสนับสนุน ให้เอกชนจัดการศึกษาอบรมให้เกิดความรู้คู่คุณธรรม จัดให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาแห่งชาติ  ปรับปรุงการศึกษาให้สอดคล้อง กับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม สร้างเสริมความรู้ และปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข สนับสนุนการค้นคว้าวิจัยในศิลปวิทยาการต่าง ๆ เร่งรัดพัฒนา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาประเทศ
       จะเห็นได้ว่า มีรัฐธรรมนูญฉบับนี้ฉบับเดียวที่ระบุให้มีกฏหมายเกี่ยวกับการศึกษาแห่งชาติ(มาตรา 81) ซึ่งมีผลทำให้เกิด พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และอื่นอีกหลายฉบับ ซึ่งถือเป็นประวัติศาสตร์ของการปฏิรูปการศึกษาครั้งสำคัญของเมืองไทยยุคหนึ่ง
       รัฐธรรมนูญพ.ศ.2550  ก็มีสาระที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ระบุเอาไว้ส่วนที่ 8 สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา มี 2 มาตรา คือ
       มาตรา 49 บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก ต้องได้รับการสนับสนุนจากรัฐเพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลอื่น การจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพหรือเอกชน การศึกษาทางเลือกของประชาชน การเรียนรู้ด้วยตนเอง และการเรียนรู้ตลอดชีวิต ย่อมได้รับการคุ้มครองและส่งเสริมที่เหมาะสมจากรัฐ
      มาตรา50 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในทางวิชาการ การศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัย และการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการย่อมได้รับการคุ้มครอง ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่ของพลเมืองหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน

3. พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ มีกี่มาตรา และมีความสำคัญอย่างไร และประเด็นหรือมาตราใดที่ผู้ปกครองต้องปฏิบัติและต้องยึดถือปฏิบัติ  
ตอบ  อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545 ประกอบกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการนับอายุเด็กเพื่อเข้ารับการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 245 จึงประกาศรายละเอียดการส่งเด็กเข้าเรียนในสถานศึกษาภาคบังคับ ระดับประถมศึกษา ดังนี้
                1. ให้บิดามารดา หรือบิดา หรือมารดา ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง หรือผู้ปกครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของเด็กที่มีอายุย่างเข้าปีที่ 7 (นับตาม พ.ศ. เกิด) ตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร หรือภูมิลำเนาอื่น ให้นำเด็กในความปกครองไปแจ้งการส่งเด็กเข้าเรียนในสถานศึกษาที่จัดการศึกษาภาคบังคับ ระหว่างวันที่ 16 พฤษภาคม (ของปีที่อายุครบ) ถึงวันที่ 16 พฤษภาคม (ของปีที่เข้าเรียน) ณ สำนักงานเขต หรือสถานที่จัดการศึกษาภาคบังคับแล้วแต่กรณี พร้อมทั้งส่งเด็กเข้าเรียนตามกำหนดของสถานศึกษา ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จนกว่าจะเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หรืออายุย่างเข้าปีที่ 15
                2. การแจ้งการส่งเด็กเข้าเรียน และการส่งเด็กเข้าเรียนตามข้อ 1 ให้นำหลักฐานอย่างใดอย่างหนึ่งไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ที่รับสมัครเด็กเข้าเรียน ดังนี้
                     - สูติบัตร หรือสำเนาสูติบัตร
                     - ในกรณีไม่มีสูติบัตร หรือสำเนาสูติบัตร ให้ใช้สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
                     - บุคคลที่ไม่ได้สัญชาติไทยในกรณีที่ไม่มีหลักฐานตามข้อ 2.1 และข้อ 2.2 ให้ใช้หลักฐานทางราชการ เช่น หนังสือเดินทาง หนังสือรับรองการเกิด ทะเบียนบ้านของบุคคลที่เข้าเมืองโดยมิชอบด้วยกฎหมาย (ทร.13) หรือทะเบียนประวัติบุคคลที่เข้าเมืองโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ที่หน่วยราชการสำรวจหรือจัดทำขึ้น
                     - ในกรณีที่ไม่มีหลักฐานตามข้อ 2.1 ข้อ 2.2 และข้อ 2.3 ให้บิดาหรือมารดาหรือผู้ปกครองเด็ก จัดทำบันทึกแจ้งทะเบียนประวัติเด็กตามแบบแนบท้ายประกาศนี้ใช้เป็นหลักฐาน
                3. ถ้าบิดามารดา หรือบิดา หรือมารดา ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองหรือผู้ปกครอง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของเด็ก ไม่สามารถไปแจ้งสำรวจเด็กที่มีอายุถึงเกณฑ์บังคับต่อเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานเขต หรือสถานศึกษาที่จัดการศึกษาภาคบังคับตามข้อ 1 เพราะป่วยหรือด้วยเหตุอื่นใดก็ดี ต้องให้บุคคลอื่นไปดำเนินการแทนตนโดยแสดงหลักฐานให้ชัดเจน

                4. เมื่อบิดามารดา หรือบิดา หรือมารดา ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองหรือผู้ปกครอง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของเด็กคนใด ได้รับแจ้งการส่งเด็กเข้าเรียนแล้ว ไม่ส่งเด็กเข้าเรียนในสถานศึกษา ให้ถือว่าไม่ปฏิบัติ ตามมาตรา 6 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท ตามมาตรา 13 และผู้ใดกระทำการใด ๆ อันเป็นเหตุให้เด็กมิได้เข้าเรียนในสถานศึกษาโดยปราศจากเหตุอันสมควร ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท ตามมาตรา 15 เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันตามมาตรา 16
                5. เมื่อบิดามารดา หรือบิดา หรือมารดา ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองหรือผู้ปกครอง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของเด็ก ประสงค์จะขอผ่อนผันให้เด็กเข้าเรียนก่อนหรือหลังเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับ ตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545 ให้ยื่นคำร้องขอผ่อนผันต่อสถานศึกษาเพื่อพิจารณาต่อไป

4. ท่านเข้าใจว่า หากมีใครเข้ามาปฏิบัติการสอนในโรงเรียนที่เปิดการสอนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรณีสอนทั้งปีที่ไม่มีใบประกอบวิชาชีพครูนั้น สามารถมาปฏิบัติการสอนได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้มีความผิดหรือบทกำหนดโทษอย่างไ  ถ้าได้จะต้องกระทำอย่างไรมิให้ผิด ตามพระราชบัญญัตินี้
ตอบ    หากมีใครเข้ามาปฏิบัติการสอนในโรงเรียนที่เปิดการสอนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรณีสอนทั้งปีที่ไม่มีใบประกอบวิชาชีพครูนั้น สามารถมาปฏิบัติการสอนได้ เนื่องจากมีคุณสมบัติครบเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
การขอขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ผู้มีความประสงค์จะขอขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู จะต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้   
          - มีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์
          - มีวุฒิปริญญาทางการศึกษา หรือเทียบเท่า หรือมีคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง
          - ผ่านการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี และผ่าน
            เกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทางการศึกษา คือ หลักฐานการอนุมัติให้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพควบคุมตามมาตรา ๔๓ แห่ง
พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา  พ.ศ  .๒๕๔๖  ทำให้มีสิทธิ  ในการประกอบวิชาชีพ ทางการศึกษาได้  ซึ่งได้แก่ ผู้ปฏิบัติงานในตำแหน่งครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ทั้งนี้ เป็นไปตามมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๖ ที่กำหนดให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษาผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ทั้งของรัฐและเอกชนต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ยกเว้นผู้มิได้ประกอบวิชาชีพหลักด้านการเรียนการสอน บุคลากรทางการศึกษาที่จัดการศึกษาตามอัธยาศัย การจัดการศึกษาในศูนย์การเรียนผู้บริหารการศึกษาในระดับอุดมศึกษาระดับปริญญา
     ผู้ใดประกอบวิชาชีพควบคุมดังกล่าวโดยไม่ได้รับใบอนุญาต หรือแสดงด้วยวิธีการใด ๆ ให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนมีสิทธิหรือพร้อมที่จะประกอบวิชาชีพ รวมทั้งสถานศึกษาที่รับผู้มิได้รับใบอนุญาตเข้าประกอบวิชาชีพควบคุมในสถานศึกษา จะต้องได้รับโทษตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๗๘ และ ๗๙ แห่งพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.๒๕๔๖

     ผู้ที่ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทางการศึกษาได้แก่ ผู้ประกอบวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงทั้งของรัฐและเอกชนที่จัดการศึกษาปฐมวัยการศึกษาขั้นพื้นฐานการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่ต่ำกว่าปริญญา โดยจัดการศึกษา ในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย โรงเรียน วิทยาลัย สถาบัน มหาวิทยาลัย หน่วยงานการศึกษา หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ หรือเอกชนที่มีอำนาจหน้าที่ หรือมีวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษารวมทั้งหน่วยการศึกษาในระดับเขตพื้นที่การศึกษา ดังนี้
     ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู หมายถึง ใบอนุญาตที่ออกให้แก่ครูซึ่งเป็นผู้ประกอบวิชาชีพหลักทางด้านการเรียนการสอนและการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่างๆ ในสถานศึกษาระดับปฐมวัย ขั้นพื้นฐาน และอุดมศึกษาที่ต่ำกว่าปริญญา ทั้งของรัฐและเอกชน ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นผู้ดำรงตำแหน่งครูอยู่ก่อนแล้วตามพระราชบัญญัติครู พุทธศักราช 2488 ผู้ที่ประกอบวิชาชีพครู หรือจะประกอบวิชาชีพครูตามพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546

     ผู้มีคุณสมบัติตามพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งครูอยู่ก่อนที่พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 จะประกาศใช้ สามารถขอขึ้นทะเบียนได้เลยโดยแสดงหลักฐานการบรรจุแต่งตั้งครู คือ ก.พ.7 หรือสมุดประวัติข้าราชการ หรือสมุดประจำตัวครูเอกชน ทั้งนี้คือเป็นครูก่อนวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ.2546 และไม่มีการลาออกจากการเป็นครูก่อน วันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ.2546
      ผู้ที่ประสงค์จะประกอบวิชาชีพครูตามพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 ผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไปในสาขาอื่นๆ มีหลักฐานในการขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้ครู ไม่เกินวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ.2549 คือเวลา 3 ปีหลังจากที่พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 ประกาศใช้
          - เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี
          - เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
          - เคยต้องโทษจำคุกในคดีที่คุรุสภาเห็นว่าอาจนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ
มาตรฐานความรู้ มีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษาหรือเทียบเท่า หรือคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง โดยมีความรู้ ดังต่อไปนี้
          1.ภาษาและเทคโนโลยีสำหรับครู
          2.การพัฒนาหลักสูตร
          3.การจัดการเรียนรู้
          4.จิตวิทยาสำหรับครู
          5.การวัดและประเมินผลการศึกษา
          6.การบริหารจัดการในห้องเรียน
          7.การวิจัยทางการศึกษา
          8.นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
          9.ความเป็นครู

มาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ โดยผ่านการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา ตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษา เป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี และผ่านเกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขคณะกรรมการคุรุสภากำหนด ดังนี้
          1.การฝึกปฏิบัติวิชาชีพระหว่างเรียน
          2.การปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาในสาขาวิชาเฉพาะ

5. สมบัติ เป็นครูโรงเรียนแห่งหนึ่ง ได้ประพฤติผิดกระทำทารุณกรรมต่อเด็กหรือเยาวชน หากเราพิจารณาตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546  จะต้องทำอย่างไร และมีบทลงโทษอย่างไร
ตอบ  พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กมีบทลงโทษผู้ฝ่าฝืนในพระราชบัญญัตินี้  มีโทษระวางปรับ และจำคุก
                  (1)  ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 26 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือนหรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                  (2)  ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 27 มาตรา 50 หรือมาตรา 61 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                  (3)  ผู้ใดฝ่าฝืนข้อกำหนดของศาลในการคุมความประพฤติ ห้ามเข้าเขตกำหนดหรือห้ามเข้าใกล้ตัวเด็กตามมาตรา 43 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ                           
                  (4) ผู้ใดกระทำการอันเป็นการยุยง ส่งเสริม ช่วยเหลือ หรือสนับสนุนให้นักเรียนหรือนักศึกษาฝ่าฝืนบทบัญญัติตามมาตรา 64 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                  

6. ช่วงที่นักศึกษาไปทดลองสอนที่โรงเรียนเทอม 2  และในเทอมต่อไป นักศึกษาเข้าไปทดลองสอนจริง นักศึกษาคิดว่าจะนำกฎหมายการศึกษาไปใช้โดยกำหนดคนละ 2 ประเด็นที่คิดว่าจะนำกฎหมาย   ไปใช้ได้ พร้อมยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ  1.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการการปฏิบัติของผู้กำกับห้องสอบ พ.ศ.2548
  ว่าด้วยเรื่อง “ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการการปฏิบัติของผู้กำกับห้องสอบ ”        
             เนื้อหาสาระจากระเบียบที่ต้องนำไปปฏิบัติ คือ  ผู้กำกับการสอบต้องปฏิบัติตามระเบียบแผนการสอบ โดยต้องไปถึงสถานที่สอบก่อนเวลา เริ่มสอบตามสมควร กำกับการสอบให้ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย ไม่อธิบายคำถามใดๆในข้อสอบให้แก่ผู้เข้าสอบ ไม่กระทำการใดๆ อันเป็นการรบกวนผู้เข้าสอบ รวมทั้งไม่กระทำการใดๆ อันเป็นการทำให้การปฏิบัติหน้าที่ของผู้กำกับการสอบไม่สมบูรณ์ ต้องแต่งการให้สุภาพเรียบร้อยตามส่วนราชการ หรือสถานศึกษากำหนด หากผู้กำกับการสอบทำการใด ประมาท เลินเล่อ หรือจงใจ ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ถือว่าผิดวินัยร้ายแรง

    2.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา  พ.ศ.2548
  ว่าด้วยเรื่อง “ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา ”
            เนื้อหาสาระจากระเบียบที่ต้องนำไปปฏิบัติ คือ
 ห้ามลงโทษนักเรียนและนักศึกษาด้วยวิธีรุนแรง หรือแบบกลั่นแกล้ง หรือลงโทษด้วยความโกรธ หรือด้วยความพยาบาท โดยให้คำนึงถึงอายุของนักเรียนหรือนักศึกษา และความร้ายแรงของพฤติการณ์ประกอบการลงโทษด้วยการลงโทษนักเรียนหรือนักศึกษาให้เป็นไปเพื่อเจตนาที่จะแก้นิสัยและความประพฤติไม่ดีของนักเรียนหรือนักศึกษาให้รู้สำนึกในความผิด และกลับประพฤติตนในทางที่ดีต่อไป ให้ผู้บริหารโรงเรียนหรือสถานศึกษา หรือผู้ที่ผู้บริหารโรงเรียนหรือสถานศึกษามอบหมาย เป็นผู้มีอำนาจในการลงโทษนักเรียน นักศึกษา การว่ากล่าวตักเตือน ใช้ในกรณีนักเรียนหรือนักศึกษากระทำความผิดไม่ร้ายแรงการทำทัณฑ์บนใช้ในกรณีนักเรียนหรือนักศึกษาที่ประพฤติตนไม่เหมาะสมกับสภาพนักเรียนหรือนักศึกษา ตามกฎกระทรวงว่าด้วยความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา หรือกรณีทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงและเกียรติศักดิ์ของสถานศึกษา หรือฝ่าฝืนระเบียบของสถานศึกษา หรือได้รับโทษว่ากล่าวตักเตือนแล้ว แต่ยังไม่เข็ดหลาบ การทำทัณฑ์บนให้ทำเป็นหนังสือ และเชิญบิดามารดาหรือผู้ปกครองมาบันทึกรับทราบความผิดและรับรองการทำทัณฑ์บนไว้ด้วย การตัดคะแนนความประพฤติ ให้เป็นไปตามระเบียบปฏิบัติว่าด้วยการตัดคะแนนความประพฤตินักเรียนและนักศึกษาของแต่ละสถานศึกษากำหนดและให้ทำบันทึกข้อมูลไว้เป็นหลักฐานทำกิจกรรมเพื่อให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมใช้ในกรณีที่นักเรียนและนักศึกษากระทำความผิดที่สมควรต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การจัดกิจกรรมให้เป็นไปตามแนวทางที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด


7. ให้นักศึกษาสะท้อนความคิดการใช้ เว็บล็อก (weblog) ในการนำมาใช้จัดการเรียนการสอนวิชานี้   พอสังเขป
ตอบ      การใช้เว็บบล็อกซึ่งเป็นเครือข่ายที่ใช้เพื่อการศึกษา ข้อมูลถูกนำเสนอในเครือข่ายสังคมออนไลน์ นำมาสู่การจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน ก่อให้เกิดผลสำคัญในหลากหลายลักษณะเช่นกัน เช่น
1. การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสังคมในชั้นห้องเรียน เนื่องจากเครือข่ายสังคมออนไลน์เป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสารผ่านความสัมพันธ์ของคนในเครือข่าย ด้วยเหตุนี้เมื่อทั้งผู้สอนและผู้เรียนเข้าสู่การสร้างความสัมพันธ์ภายในระบบเครือข่ายสังคมออนไลน์ก็จะนำไปสู่การพัฒนาความสัมพันธ์ ซึ่งเป็นผลให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพจริง นอกจากนี้ลักษณะการนำเสนอข้อมูล สถานภาพที่เป็นปัจจุบัน ทำให้ทั้งผู้สอนสามารถติดตามและประสานข้อมูลได้
2.   การกระตุ้นให้เกิดการศึกษาค้นคว้า การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่กว้างขวาง การตั้งประเด็นแลกเปลี่ยน ข้อสงสัยต่างๆ ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ และเป็นเครื่องมือสำหรับผู้สอนในการกระตุ้นผู้เรียนได้เป็นอย่างดี ในขณะเดียวกันผู้สอนสามารถนำเสนอเนื้อหาใหม่ๆ ได้อย่างต่อเนื่องและผู้เรียนสามารถติดตามได้อย่างต่อเนื่อง
3.   การส่งเสริมการศึกษาตามความสนใจและความถนัด เครือข่ายสังคมออนไลน์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรูปแบบของเว็บบล็อกเป็นระบบที่ส่งเสริมการเผยแพร่ผลงานของทั้งผู้สอนและผู้เรียน
4.   การส่งเสริมการบันทึกและการอ่าน 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น